วันอาทิตย์ที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

สบายดี๊


นางสาวอมรทิพย์  นารัตน์
โปรแกรมการประถมศึกษา ค.บ.1 หมู่2
รหัสนักศึกษา554188044


วันเสาร์ที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

สายสัมพันธ์ 8ชาติพันธ์ ในราชบุรี


ไทยจีน



      คนจีนมีความสัมพันธ์กับเมืองไทยทางสังคมและเศรษฐกิจ มาช้านาน โดยคนจีนเข้ามา ค้าขายในดินเเดนนี้มาตั้งแต่คริสตกาล การจดบัญทึกของชาวจีนตั้งแต่สมัยราชวงศ์ถังลงมาทำให้เราทราบถึงบ้านเมืองแว่นแคว้น การปกครอง ศาสนาและขนมธรรมเนียมของคนจีน ดีกว่าเอกสารหรือลักฐานด้านอื่นๆ ในสมัยสุโขทัย จีนกับสยามติดต่อสัมพันธ์กันอย่างไกล้ชิด ราชสำนักจีนได้ส่งคณะฑูต ถือสาส์นมาถวายพ่อขุนรามคำแหงมหาราชซึ่งพระองค์ก็ทรงเดินทางไปเยือนประเทศจีนและส่งเครื่องบรรณาการไปยังกรุ่งปักกิ่งหลายครั้ง ราชสำนักจีนส่งช่างปั้นเครื่องปั้นดินเผาเข้ามาในสยามเพื่อสอนการปั้นถ้วยชามสังคโลกให้แก่คนไทย
     คณะฑูตจากเมืองจีนที่เดินทางเข้ามาจากประเทศสยามครั้งนั้นพึงพอใจในการต้อนรับกิริยามารยาทที่เรียบร้อยและสุภาพของคนไทยทำให้คนจีนบางส่วนขอแต่งงานกับผู้หญิงไทย ทำให้เกิด ลุกครึ่ง ไทยจีน หรือเรียกกันว่าคนไทยเชื้อสายจีน แพร่หลายไปทั่วประเทศ
     คณะฑูตจากเมืองจีนที่เดินทางเข้ามาจากประเทศสยามครั้งนั้นพึงพอใจในการต้อนรับกิริยามารยาทที่เรียบร้อยและสุภาพของคนไทยทำให้คนจีนบางส่วนขอแต่งงานกับผู้หญิงไทย ทำให้เกิด ลุกครึ่ง ไทยจีน หรือเรียกกันว่าคนไทยเชื้อสายจีน แพร่หลายไปทั่วประเทศ

วัฒนธรรม ความเชื่อทางศาสนาและพิธีกรรมที่อยู่อาศัย

     ในอดีตชาวไทยจีนที่เดินทางเข้ามาทำมาหากินในจังหวัดราชบุรีมักจะสร้างที่พักอาศัยใกล้ๆ กับแหล่งน้ำเพื่อสะดวกในการประกอบอาชีพค้าขายและกสิกรรม ที่พักอาศัยจะใช้ไม้ไผ่เป็นส่วนใหญ่ ใช้พื้นดินปรับสภาพให้แน่นพื้นบ้าน เมื่อประกอบอาชีพพอมีฐานะก็จะขยับขขยายที่พักอาศัยไปอยู่ห้องแถวไม้จริง หลังคามุงสังกะสีบ้าง มุงกระเบื้องบ้างตามถานะของแต่ละคน แต่ในปัจจุบัน คนไทยจีนส่วนใหญ่จะพักอยู่ในตึกแถวก้าวรุดหน้าเพราะมีความประหยัด ขยันและอดทน

การแต่งกาย

     ในอดีตชาวไทยจีนทั้งหญิงและชายนิยมสวมกางเกงขายาวที่ขากว้างเพราะสวมใส่สบาย เสื้อก็มีรูปทรงหลวมๆ สีของเสื้อและกางเกงนิยมใช้ผ้าฝ้ายสีทึบ เพราะสวมใส่แล้วไม่ร้อน สมารถปกปิดคลายสกปรกได้เป็นอย่างดี 

ภาษา

      ชาวไทยจีนในราชบุรีภาษาที่ใช้กัน อยู่ ๓ ภาษาคือ แต้จิ๋ว ไหหลำ และแคะ            แซ่"แซ่" บ่งบอกถึงเชื้้อสายตระกูลของชาวจีน การใช้แซ่ของชาวจีนในจังหวัดราชบุรีและในอื่นๆ ทั่วโลกมีความซับซ้อนเกี่ยวเนื่องกับการหลอมรวมทางเชื้อชาติในประเทศจีนมีแซ่ทั้งสิ้นประมาณ ๔,๑๒๙ แซ่ เป็นแซ่พยางค์เดียว ๒,๒๘๘ แซ่ , แซ่สองพยางค์ ๑,๖๘๙ แซ่, แซ่สามพยางค์ ๑๔๓ แซ่ ,แซ่สี พยางค์ ๗ แซ่ แต่แซ่ที่พบบ่อยมากมีเพียงสองร้อยกว่าแว่เท่านั้น ส่วนในจังหวัดราชบุรีถึงจังหวัดต่างๆ

ลัทธิความเชื่อและศาสนา

    ความเชื่อทางศาสนาของชาวไทยจีนในจังหวัดราชบุรีเป็นส่วนผสมผสานความเชื่อระหว่างพพระพุทธศาสนา การบูชา บรรพบุรุษ ลัทธิเต๋า ลัทธิจงจิ๊อ การถือเจ้าเเละเทพยดา ในขณะชาวไทยจีนยึดถือการไหว้เจ้าและไหว้บรรพบุรุษ ก็ยังทำบุญตักบาตร หรือให้ผู้เป็นบุตรชายบวชเรียนในพระพุทธศาสนา สะท้อนให้เห็นว่าชาวไทยเชื้อสายจีนสามารถผสมผสาความเชื่อทางศาสนากันได้เป็นอย่างดี

เครื่องมือเครื่องใช้

    ในอดีตชาวไทยจีนที่มาประกอบอาชีพกสิกรรมและค้าขายในจังหวัดราชบุรีจะประดิษฐ์เครื่องมือเครื่องใช้โดยอาศัยไม้ไผ่เช่น การสานตระกร้าเอาไว้เป็นภาชนะใส่ผลผลิตทางเกษตรหรือนำไปจ่ายตลาด สานพัดไว้ดบกวีเพื่อคลายความร้อนหรือเอาไว้ไล่แมลง ฯลฯ เครื่องจักสานเหล่านี้ทำด้วยไม้ไผ่ทั้งสิ้น

การกินอยู่

     ชาวไทยในจีนสั่งสมวัฒนธรรมการกินเอาไว้มากมาย อาหารของจีนจะเป็นอาหารที่ปรุงสุกด้วยความร้อน ไม่นิยมกินอาหาร สุกๆ ดิบๆ หรืออาหารเป็นพิษของชาวจีน จึงพบได้น้อยมาก      ในชาวจีนส่วนใหญ่จะกินอาหารที่มีรสเค็ม อาหารส่วนใหญ่จะเป็นข้าวนิยมกินข้าวสวยในมื้อเช้าและมื้อเย็น ส่วนมื้อกลางวันจะกินข้าวต้ม กับข้าวนิยมกินไข่เค้ม เกี่ยมฉาย (ผักกาดดอง) ไฉ่โป๊ว (หัวผักกาดดอง) ปลาเค้ม ถั่วคั่ว เต้าหู้ ถั่วงอก ซี่อิ๋ว 

ศิลปะแบบจีน

     ศิลปะของจีนแบ่งอกก เป็น๓ประเภทคือ ศิลปะปูนปั้น ศิลปะจากปลายภู่กัน และศิลปะจากการตัดกระดาษ     ศิลปะของจีนในจังหวัดราชบุรีหาชมได้ตามศาลเจ้าทั่วๆ ไปเป็นที่ยอมรับกันว่าจิตรกรมีฝีมือในการใช้ปลายพู่กันจุ่มหมึกจีนตวัดเป็นภาพให้ปรากฏความงดงามใน ผืนผ้า ฝาผนัง กระดาษและเครื่องแก้วนานา ซึ่งอวดความงามทั้งตัวอักษรและลายเส้นลายสีเป้นที่เลื่องลือต่อเนื่องกันมาหลายยุคหลายสมัย